สภ.ตระการพืชผล 0 - 4548 - 1728 แฟกซ์ 0 - 4548 - 1204
ยุทธศาสตร์การทำงาน   สภ.ตระการพืชผล

1.  ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ

     1) ปฏิบัติตามแนวทางเกี่ยวกับการถวายความปลอดภัย

     2)  การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ

การปฏิบัติ

1)  ถวายความปลอดภัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
และพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

2)  ถวายความปลอดภัยพระบรมวงศานุวงศ์
3)  จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
และรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่
ใ นเขตพื้นที่รับผิดชอบทุกครั้ง

2.ยุทธศาสตร์ด้านการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน

     1)  ให้บริการตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน

     2)  จัดตั้งศูนย์บริการรับแจ้งเหตุ

     3)  ปรับระบบและวิธีการทำงานให้สะดวก  รวดเร็ว  และเสร็จสิ้น  ณ จุดเดียว

     4)  กระจายกำลังลงสู่ชุมชน  เพื่อให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง

    5) พัฒนาขีดความสามารถของระบบสายตรวจเข้ามาเสริมการให้บริการประชาชน

     6)  ปรับปรุงสถานีตำรวจ  โดยเน้นความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย

     7)  ปลูกฝังจิตสำนึกการเป็นผู้ให้บริการที่ดี

     8)  จัดทีมงานประชาสัมพันธ์ของ  สภ.

   

การปฏิบัติ

1)  สภ.ได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้บริการประชาชน จุดเดียว เช่น 
- งานแจ้งเ
อกสารหาย
- งานแจ้งความร้องทุกข์
- งานเปรียบเทียบปรับ
- งานขออนุญาตต่าง ๆ
- งานพิมพ์มือและตรวจสอบประวัติ
- งานขอประกัน และถอนประกัน
2) สภ.ได้ประกาศพันธะสัญญาในการออกไประงับเหตุ
หรือให้บริการ ตามที่ได้รับแจ้งเหตุดังนี้
-
ในเขตเทศบาล ภายใน 5 นาที
-  นอกเขตเทศบาลภายใน 30 นาที
3)  จัดตั้งศูนย์บริการรับแจ้งเหตุ  จำนวน  9  แห่ง
-
  ตชต. จำนวน  8  แห่ง
-  ตู้ยาม  จำนวน  1  แห่ง
4)  ปรับปรุงสถานีตำรวจและบ้านพัก
-
ดำเนินการตามโครงการ  5 ส.  อย่างต่อเนื่อง
5)  การประชาสัมพันธ์
-
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร, เว็บไซต์  สภ.
http://trakarn.ubonratchathani.police.go.th
E-Mail : แจังข้อมูลข่าวสารได้ที่
trakanphutphon@royalthaipolice.go.th
MSN :
ubon0729_0@hotmail.com

ออนไลน์ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.30 น.
มีเจ้าหน้าที่ประจำหน้าเครื่อง

-
ตู้ ป.ณ.13  ตระการพืชผล   34130  รับแจ้งข้อมูล
-  ชุด  ชมส.ดำเนินรายการตำรวจพบประชาชน

6)  การพัฒนาสายตรวจ
- อบรมชี้แจงเสริมทักษะเจ้าหน้าที่สายตรวจและตรวจสอบ
ความพร้อมของสายตรวจเกี่ยวกับการแต่งกาย อาวุธ
เครื่องมือเครื่องใช้ และยานพาหนะก่อนออกปฏิบัติหน้าที่

-  รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรม
และสถานการณ์เพื่อประกอบการพิจารณาวางแผนในการ
จัดสายตรวจอย่างเป็นระบบ

-  ปรับปรุง  จัดหาวัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้
ประจำตู้ยามและที่พักสายตรวจ (ตชต.) เพื่อเป็น
จุดบริการรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชม.

3.  ยุทธศาสตร์ด้านการควบคุมอาชญากรรม

     1)  ป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม

     2)  จัดสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อให้มีส่วนสำคัญในการป้องกันอาชญากรรม

     3)สร้างเครือข่ายโดยบูรณาการกำลังจากภาครัฐเอกชน
ประชาชน และสื่อมวลชน  เข้ามามี
ส่วนร่วม

     4)  จัดระเบียบพื้นที่และสภาพแวดล้อม  เพื่อให้มีความเหมาะสม

     5)  บูรณาการกำลังจากตำรวจทุกฝ่าย

     6)  กวดขัน ปราบปรามสถานบริการตามนโยบายจัดระเบียบสังคม

การปฏิบัติ

1) ระดมกวาดล้างทุกเดือน ๆ ละ  1  ครั้ง
2) ระดมกวาดล้างตามคำสั่ง ภ.จว.อบ.ห้วงเทศกาลสำคัญ
3) จัดอบรม
ชุมชนเข้มแข็งเสริมสร้างหมู่บ้านเพื่อเอาชนะยาเสพติด
จำนวน  234  หมู่บ้าน ๆ  ละ 25  คน  รวม  5,850  คน
4)
จัดอบรมและจัดตั้งสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม
จำนวน  234  หมู่บ้าน ๆ  ละ  5  คน  รวม  1,170  คน
5) จัดอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ชุมชนจำนวน196คน 
เพื่อเป็นอาสาสมัครร่วมปฏิบัติหน้าที่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ
ตั้งจุดตรวจจุดสกัดและการรักษาความสงบเรียบร้อยประจำหมู่บ้าน

6)  จัดชุดปฏิบัติการออกตรวจสถานบริการให้ปฏิบัติ
ตาม  พ.ร.บ.สถานบริการ  พ.ศ. 2509
7)  ตั้งจุดตรวจค้นบุคคลและยานพาหนะทุกวันแบบไม่กำหนดเวลา
8)  ตั้งจุดตรวจสัมพันธ์ภาค  3
9)  ตั้งจุดตรวจยาเสพติดแบบบูรณาการภาค  3

4.  ยุทธศาสตร์ด้านการอำนวยความยุติธรรม

     1)  ปรับระบบและเนื้อหาในสำนวนการสอบสวนให้สั้นกระชับ

     2)  ควบคุม  ดูแล  ตรวจสอบ  เร่งรัดพนักงานสอบสวนในการปฏิบัติหน้าที่

     3)  จัดและพัฒนาบุคลากรผู้ช่วยเหลือพนักงานสอบสวนให้มีความรู้

     4)  ให้พนักงานสอบสวนได้รับเงินค่าตอบแทนเทียบเคียงกับข้าราชการฝ่ายอื่น

     5)  จัดหาวัสดุ  อุปกรณ์  เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสนับสนุนการปฏิบัติ

     6)  บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม

     7)  เสริมสร้างจรรยาบรรณให้กับพนักงานสอบสวน

การปฏิบัติ

1)  จัดนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ควบคุม  ดูแล  ตรวจสอบและเร่งรัด
การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนอย่างใกล้ชิด

2)  จัดเวรผู้ช่วยพนักงานสอบสวนประจำทุกวัน
- เสมียนคดี  1  นาย
-  ชุดสืบสวน  2  นาย
-  พิมพ์มือ  1  นาย
-  เจ้าหน้าที่พลขับพร้อมรถโล่  1  นาย
3)  อบรมพนักงานสอบสวนเพื่อสร้างจิตสำนึก
เพิ่มความรู้ความสามารถ   อุดมการณ์และความรู้
กฎหมายใหม่ให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกรวดเร็ว 
4
)  การให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย/พยาน
-  จัดเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครอง
-  จัดเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมเยียน
-  สืบสวน  ติดตามความเคลื่อนไหวของคู่กรณี
-  จัดให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย

5.  ยุทธศาสตร์ด้านการสืบสวน

     1)  เพิ่มศักยภาพให้เป็นแม่แบบการสืบสวน
2) พัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้กับสืบสวน

     3)  จัดระบบงานสืบสวนให้พัฒนาไปสู่ทีมสืบสวนแบบบูรณาการ

     4)  พัฒนาเรื่องงบประมาณงานสืบสวน

     5)  พัฒนาเครื่องมือประกอบงานสืบสวนให้ทันสมัยทุกด้าน

     6)  พัฒนางานวิจัยด้านวัสดุอุปกรณ์งานสืบสวน

     7)  อบรมหลักสูตรสืบสวน  เพื่อพัฒนาบุคลากร

    การปฏิบัติ

1)  จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารประจำ สภ.
-
ข้อมูลบุคคลและสถานที่ทั่วไป
-  ข้อมูลบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม
-  จัดทำนาฬิกาอาชญากรรม  2  เรือน  เปรียบเทียบ
คดีการเกิดอาชญากรรม
-  จัดทำสรุปสถิติคดีการเกิดคดี 5  กลุ่มเปรียบเทียบ

2)  จัดตั้งแหล่งข่าวและสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม
เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติ  ด้านการสืบสวนสอบสวน
3)  ปรับปรุงชุดสืบสวนและจัดหาวัสดุอุปกรณ์
ยานพาหนะและงบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติ
เกี่ยวกับการสืบสวน  ติดตาม  จับกุมผู้กระทำความผิด
มาดำเนินคดีตามกฎหมายตามความเหมาะสม

6.  ยุทธศาสตร์ด้านการจราจร

     1)  ส่งเสริม  สนับสนุน  และใช้มาตรการทางกฎหมายโดยเคร่งครัด

     2)  รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อเสริม สร้างวินัยจราจร

     3)  เพิ่มศักยภาพของตำรวจจราจร  ด้านการอำนวยความสะดวกการจราจร

     4)  บูรณาการกำลังจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจร

    5) จัดหาและขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานด้านการจราจร

     6) ฝึกอบรมอาสาจราจรเพื่อช่วยเหลือเจ้าพนักงานจราจร

การปฏิบัติ

1) ดำเนินการตามโครงการและมาตรการการบังคับใช้กฎหมาย
อย่างเคร่งครัด

-  มาตรการ  3 ม. 2 ข. 1 ร.
-  โครงการขับรถปลอดภัย  เปิดไฟใส่หมวก
-  โครงการเมาไม่ขับ
-  มาตรการอื่น ๆ  ตามที่รัฐบาลกำหนด

2)  ฝึกอบรมอาสาสมัครจราจร  จำนวน  2  รุ่น ๆ  ละ  50  คน
-
นักเรียน  นักศึกษา 
-  เจ้าหน้าที่  อปพร. ประจำอำเภอ

3)  จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสายตรวจจราจร
4)  ดำเนินการตามโครงการครู  5  นาที  ทุกวันจันทร์พุธ  ศุกร์

7.  ยุทธศาสตร์การทำสงครามกับยาเสพติดและคอรัปชั่น

     1)  จัดให้มีการรวมพลังแผ่นดินเพื่อกวาดล้างยาเสพติดอย่างยั่งยืน

     2)  สร้างระบบการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ

     3)  กำจัดบุคลากรที่แสวงหาประโยชน์จากองค์กร

   4)  ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการตามอำนาจหน้าที่

    5) ปราบปรามผู้มีอิทธิพลรวมถึงเครือข่ายและผู้สนับสนุนการกระทำความผิด  ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้อง

     6)  สร้างจิตสำนึกและค่านิยมในการต่อต้านคอรัปชั่น

   7)ส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจดำรงชีวิตให้อยู่ในความพอดี

การปฏิบัติ

1)  จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดประจำ   สภ.
2
)  จัดชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด  จำนวน1  ชุด  (ส.1 / ป.5)
3)  ฝึกอบรมและจัดตั้งชุมชนเข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติด
จำนวน  234  หมู่บ้าน ๆ  ละ  25  คน
4)  ตั้งจุดตรวจยาเสพติดแบบบูรณาการภาค  3
5)  สุ่มตรวจปัสสาวะ
-
  สถานศึกษา
-  สถานบริการ
-  โรงงาน
-  ปั๊มน้ำมัน
-  โรงแรม
-  หอพัก
-  บ้านเช่า  
6)  จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไว้เป็นปัจจุบัน
และเป็นระบบสามารถตรวจสอบได้
-  ข้อมูลผลิต
-  ข้อมูลผู้เสพ
-  ข้อมูลผู้ค้ารายย่อย
-  ข้อมูลผู้ค้ารายสำคัญ
-  ข้อมูลผู้คอยเฝ้าระวัง
7)  ประชุมชี้แจงข้าราชการตำรวจทุกนายห้ามมิให้ยุ่งเกี่ยวกับ
ยาเสพติดทุกประเภททั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างเด็ดขาด

8.  ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี

     1)  จัดฝึกอบรมยุทธวิธีตำรวจ

     2)  ฝึกอบรมพนักงานสอบสวน

     3)  ฝึกอบรมบุคลากรอย่างทั่วถึงทั้งระบบ

     4)  จัดตั้งศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจ

     5)  พัฒนาระบบฐานข้อมูล

     6)  สร้างช่องทางรับคำร้องทุกข์จาก  ปชช.

     7)  กำหนดตัวชี้วัด - ประเมินผลการปฏิบัติ

     8)  ดูแลสวัสดิการพื้นฐานของตำรวจ

     9)  ส่งเสริม  กต.ตร. ให้เข้มแข็ง

     10) ใช้กลไกลูกเสือชาวบ้านมาช่วยพัฒนางานตำรวจ

   การปฏิบัติ

1) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร, เว็บไซต์  สภ.
http://trakarn.ubonratchathani.police.go.th
E-Mail : แจังข้อมูลข่าวสารได้ที่
trakanphutphon@royalthaipolice.go.th
MSN :
ubon0729_0@hotmail.com

ออนไลน์ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.30 น.
มีเจ้าหน้าที่ประจำหน้าเครื่อง

-
ตู้ ป.ณ.13  ตระการพืชผล   34130  รับแจ้งข้อมูล
-  ชุด  ชมส.ดำเนินรายการตำรวจพบประชาชน

2)  ประชุมร่วมกับ  กต.ตร.ประจำสถานี  เพื่อพิจารณา
คัดเลือกข้าราชการตำรวจดีเด่นประจำเดือนทุกเดือน
  -  พนักงานสอบสวนดีเด่น
-  เจ้าหน้าที่สืบสวนดีเด่น
-  ครอบครัวข้าราชการตำรวจดีเด่น 

3)  ฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างระเบียบ วินัย
ข้าราชการ
ตำรวจทุกนายเป็นประจำทุกวันศุกร์
4)  ติดตั้งตู้รับคำร้องทุกข์จากประชาชน จำนวน 3 ตู้
5)  สำรวจและรวบรวมความคิดเห็นของประชาชน
และประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการ
พัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน

6)  จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจสนับสนุนเป็นวิทยากรร่วม
เมื่อได้รับการร้องขอทุกครั้ง

ศูนย์สารสนเทศ สภ.ตระการพืชผล

Update ล่าสุด : 1 กันยายน 2551

MSN : ubon0729_0@hotmail.com วันเวลาราชการ